วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การวางคำขยายไว้ข้างหลังคำหลัก


การวางคำขยายไว้ข้างหลังคำหลัก
      คำขยายในภาษาไทยจะวางไว้ข้างหลังคำหลักหรือคำที่ถูกขยายเสมอ  การวางคำขยายจะเกิดในกรณีที่ผู้พูดหรือผู้เขียนมีความต้องการจะบอกกล่าวข้อความเพิ่มเติมในประโยค ก็หาคำมาขยายโดยการวางคำขยายไว้ข้างหลัง คำที่ต้องการขยายความหมายมักจะเป็นคำนาม คำกริยา ดังนั้น คำขยายจึงอยู่หลังคำที่ถูกขยายหรือคำหลัก จะเรียงลำดับ ดังนี้

 ๑. คำนาม (คำหลัก) + คำขยาย เช่น บ้านเพื่อน แขนขวา (บ้าน แขน เป็นคำหลัก ส่วนเพื่อน ขวา เป็นคำขยาย)
  ๒. คำกริยา (คำหลัก) + คำขยาย เช่น กินจุ เดินเร็ว (กิน เดิน เป็นคำหลัก ส่วนจุ เร็ว เป็นคำขยาย)
      คำขยาย หรือคำที่ทำหน้าที่ขยาย แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ๑) คำที่ทำหน้าที่ขยายนาม เป็นคำชนิดต่าง ๆ เช่น คำนาม 
     
       คำสรรพนาม คำลักษณนาม คำบอกจำนวน เป็นต้น และเมื่อขยายแล้วจะเกิดเป็นกลุ่มคำนามหรือนามวลี เช่น ละครเพลง ร่มใน 

      ตะกร้า เรือ ๕ ลำ ๒) คำที่ทำหน้าที่ขยายกริยา เป็นคำชนิดต่าง ๆ เช่น คำกริยา คำช่วยหน้ากริยา คำบอกจำนวน คำลักษณนาม  เป็นต้น และเมื่อขยายแล้วจะเป็นกลุ่มคำกริยา หรือกริยาวลี เช่น หอมฟุ้ง หมุนติ้ว ประมาณ ๕ กิโลกรัม

      ถ้าคำหลัก หรือคำที่ถูกขยายเป็นคำนามที่ทำหน้าที่ประธาน หรือกรรม และเป็นคำกริยาที่ทำหน้าที่กริยาของประโยคที่ต้องการ  

      เนื้อความเพิ่มขึ้นก็จะหาคำมาขยายโดยวางเรียงต่อจากคำหลัก

   จึงมีรูปแบบการเรียงคำ ดังนี้ คำหลัก (คำนาม,คำกริยา) + คำขยาย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น