วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การลงเสียงหนัก-เบาของคำ

 
ภาษาไทยมีการลงเสียงหนัก-เบาของคำ

        การลงเสียงหนัก เบาของคำในภาษาไทย จะมีการลงเสียงหนัก-เบาของคำในระดับคำซึ่งมีมากกว่าสองพยางค์ และการลงเสียงหนัก-เบาของคำในระดับประโยค โดยพิจารณาในแง่ของไวยากรณ์ และเจตนาของการสื่อสาร เมื่อพิจารณาในแง่ของไวยากรณ์การออกเสียงคำภาษาไทยมิได้ออกเสียงเสมอกันทุก พยางค์ กล่าวคือ ถ้าคำพยางค์เดียวอยู่ในประโยค คำบางคำก็อาจไม่ออกเสียงหนัก และถ้าถ้อยคำมีหลายพยางค์ แต่ละพยางค์ก็อาจออกเสียงหนักเบาไม่เท่ากัน นอกจากนี้หน้าที่และความหมายของคำในประโยคก็ทำให้ออกเสียงคำหนักเบาไม่เท่า กัน


การลงเสียงหนัก เบาของคำ
   การลงเสียงหนัก-เบาของคำสองพยางค์ขึ้น  มีดังนี้
    ๑.ถ้าเป็นคำสองพยางค์ จะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่สอง เช่น คนเราต้องมีมานะ  (นะ เสียงหนักกว่า มา)
    ๒.ถ้าเป็นคำสามพยางค์ ลงเสียงหนักที่พยางค์ที่สาม และพยางค์ที่หนึ่ง หรือ พยางค์ที่สองด้วยถ้าพยางค์ที่หนึ่งและพยางค์ที่สองมี 
        สระยาวหรือมีเสียงพยัญชนะท้าย เช่น ปัจจุบันเขาเลิกกิจการไปแล้ว (ลงเสียงหนักที่ ปัจ,บัน,กิจ,การ) 
    ๓. ถ้าเป็นคำสี่พยางค์ขึ้นไป ลงเสียงหนักที่พยางค์สุดท้าย ส่วนพยางค์อื่น ๆ ก็ลงเสียงหนัก-เบาตามลักษณะส่วนประกอบของ    
        พยางค์ที่มีสระยาวหรือมีเสียงพยัญชนะท้าย เช่น ทรัพยากร (ลงเสียงหนักที่ ทรัพ, ยา, กร)

การลงเสียงหนัก เบาของคำ

   การลงเสียงหนัก-เบาตามหน้าที่และความหมายของคำในประโยค


   ๑.คำที่ทำหน้าที่เป็น ประธาน กริยา กรรม หรือคำขยาย จะออกเสียงหนัก
           เช่น น้องพูดเก่งมาก  (ออกเสียงเน้นหนักทุกพยางค์)

   ๒.ถ้าเป็นคำเชื่อมจะไม่เน้นเสียงหนัก
           เช่น  น้องพูดเก่งกว่าพี่  (ออกเสียงเน้นหนักทุกพยางค์ แต่ไม่ออกเสียงเน้นคำ กว่า)

   ๓.คำที่ประกอบด้วยสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์อย่างเดียวกัน ออกเสียงหนัก-เบา ต่างกันแล้วแต่ความหมายและหน้าที่ของคำนั้น
          เช่น  คุณแม่กะจะไปเชียงใหม่กะคุณพ่อ  (กะ คำแรก ออกเสียงหนัก เพราะถือเป็นคำสำคัญในประโยค  ส่วน กะ คำที่สอง  
     

ออกเสียงเบากว่า กะ คำแรก เพราะเป็นคำเชื่อม
   เมื่อพิจารณาในแง่ของเจตนาของการสื่อสาร การออกเสียงคำภาษาไทยมิได้ออกเสียงเสมอกันทุกคำ กล่าวคือ จะขึ้นอยู่กับผู้พูดว่าจะต้องการเน้นคำใด หรือต้องการแสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างใดจึงเน้นคำ ๆ นั้นหนักกว่าคำอื่น
การออกเสียงหนัก - เบาของคำในระดับประโยค 
     ๑.ผู้พูดอาจเลือกเน้นคำบางคำในประโยคได้ต่าง ๆ กันเพื่อให้ผู้ฟังสนใจเป็นพิเศษ หรือเพื่อส่งสารบางอย่างเป็นพิเศษ
           เช่น  น้อยชอบนันท์ไม่ใช่ชอบนุช  (ออกเสียงเน้นหนักที่ นันท์)

     ๒.ผู้พูดอาจเลือกเน้นคำใดคำหนึ่งตามความรู้สึก อารมณ์ หรือความเชื่อที่เกิดขึ้นในขณะส่งสาร
           เช่น  แน่ละ  เขาดีกว่าฉันนี่ (ออกเสียงเน้นหนักที่ ดี แสดงว่าผู้พูดมิได้คิดว่า เขาดี เพียงแต่ต้องการประชด)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น